Posts

Reviews in neglected tropical infectious diseases 2023

Image
           โรคที่ถูกละเลย หรือ N eglected tropical diseases (NTDs) คือโรคติดเชื้อทั้งหลายแหล่ในโรคเขตร้อน ที่มีความชุกในประเทศรายได้น้อยหรือกำลังพัฒนา กล่าวคือ ในทวีปเอเชีย,แอฟริกา และทวีปอเมริกา ซึ่งโรค  N eglected diseases ครอบคลุมทั้งเชื้อ Virus, Bacteria และ Parasite ซึ่งบางโรคไม่แสดงอาการ (asymptomatic) หรือมีระยะฟักตัว (incubation period) ที่ยาวนาน ทำให้มันยังคงถูกละเลยอยู่อย่างนั้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของคน, ความเจ็บป่วยพิกลพิการ และร้ายแรงสุดคือเสียชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประมาณการณ์ว่า ใน 1 ปี มีผู้คนติดเชื้อจากกลุ่มโรคเหล่านี้ถึง 1 ล้านล้าน (billion) คน จากกว่า 150 ประเทศที่เป็นแหล่งรังโรค เพราะประชากรต้องเผชิญกับปัญหา ความยากจน, การเข้าไม่ถึงสุขอนามัยที่ดี หรือการอยู่ใกล้พาหะโรค เช่น แมลลงหรือปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับตราบาปสังคม ซึ่งยิ่งทำให้การรักษามีความซับซ้อนมากไปกว่าเดิม          ปัจจุบันมีประมาณ 20 โรค ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม   N eglected diseases อันได้แ...

อาการของการติดเชื้อ Strongyloides stercoralis ในคนอิหร่าน 70 คน

Image
           งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในปี 2014 รวบรวมข้อมูลของอาการคนที่ติดเชื้อ  Strongyloides stercoralis ในชาวอิหร่าน 70 คน (An Analysis of Clinical Characteristics of   Strongyloides stercoralis in 70 indigenous patients in Iran) ทั้งนี้เพื่อทราบสถานการณ์ของโรค และลักษณะอาการที่จะมาปรากฏให้เห็น เพื่อช่วยย้ำเตือนให้คิดถึงโรคดังกล่าวให้มากขึ้น บทนำ          โรค Strongyloidiasis เกิดจากการติดเชื้อพยาธิชื่อ  Strongyloides stercoralis ซึ่งประมาณการณ์ไว้ว่ามี 30-100 ล้านคนในพื้นที่ที่เป็นโรคประจำถิ่นในทั่วโลกติดเชื้อ โดยเฉพาะพื้นที่เขตร้อน (Tropical and subtropical area) อาการมีตั้งแต่ไม่มีอาการเลยจนมีการติดเชื้ออย่างหนัก (Hyperinfection) และกระทั่งติดเชื้อแบบกระจาย (Disseminated infection) แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีอาการ หรือถ้ามี ก็จะมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร, ทางผิวหนัง หรือทางปอดเล็กน้อย จะมีไข้หรือไม่มีก็ได้ ซึ่งในระยะเฉียบพลันพบอาการทางเดินอาหารและปอดได้บ่อย ผลทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญคือการมีเม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophi...

อัตราการรักษาที่ต่ำของโรคปรสิตในประเทศสหรัฐอเมริกา

Image
          Low treatment rates of Parasitic Diseases with Standard-of-Care prescription drugs in the United States, 2013-2019           มาอีกหนึ่งบทความของโรคปรสิตที่เพิ่งตีพิมพ์ปี 2022 ไม่นานมานี้เอง จากหัวข้อเรื่องอัตราการรักษาโรคปรสิตที่ต่ำเมื่อใช้ยาที่เป็นมาตรฐานการรักษาในประเทศสหรัฐอเมริกา อ่านชื่อหัวข้อแล้วก็อาจจะสงสัยว่าทำไมถึงมีการรักษาที่ต่ำลง มีสาเหตุอย่างไรกันนะ และคำตอบจากงานวิจัยนี้จะนำไปสู่การแก้ไขอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของการรักษาโรคปรสิตในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเปรียบเทียบอัตราการรักษา (Treatment rates) ของเชื้อปรสิตจำนวน 11 เชื้อเทียบกับเชื้อแบคทีเรียอีก 2 ตัว ซึ่งเป็นตัวที่พบและวินิจฉัยได้บ่อยๆ โดยใช้ฐานของมูล IBM, MarketScan, Commercial Claims and Encounters (CCAE), Multi-state Medicaid database กล่าวคือฐานข้อมูลของคนที่ทำประกันของเอกชนและประกันจากรัฐที่คุ้มครองผู้มีรายได้น้อยและผู้พิการ (Medicaid) ซึ่งมีจำนวนผู้อยู่ใ...

การรักษาแบบผิดๆ ของโรค Strongyloidiasis (พยาธิเส้นด้าย)

Image
    งานวิจัยนี้จะเป็นคุณหมอหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถอ่านได้ค่ะ ว่าบางอย่างก็อาจโดนลืมนึกถึงได้แม้จะเป็นบุคคลากรทางการแพทย์เอง เพราะอาจจะไม่เคยพบเห็นเคสด้วยตัวเองเลย แต่โลกในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากคนจะเคลื่อนที่ได้ โรคก็เคลื่อนที่ได้เช่นกัน รู้ไว้ดีกว่า ปลอดภัยตัวเอง       งานนี้เป็นงานวิจัยปี 2007 ชื่อเรื่อง Maltreatment of Strongyloides infection: Case series and worldwide physicians-in-training survey หรือการรักษาแบบผิดๆ ของโรค Strongyloidiasis ในวารสารของ NIH  ถึงงานวิจัยจะเริ่มเก่าแล้ว แต่ก็ยังมีคุณค่าทางเนื้อหา      พยาธิเส้นด้ายหรือชื่อวิทยาศาสตร์  Strongyloides stercoralis ก่อให้เกิดโรคที่เรียกว่า Strongyloidiasis ติดเชื้อที่ทางเดินอาหารเป็นหลัก แต่หากมีการติดเชื้ออย่างหนักสามารถลุกลามไปที่ปอดได้ อ่านสรุปตรงนี้เลย      การติดเชื้อ Strongyloides stercoralis เป็นอีกสาเหตุการตายที่สำคัญของการติดเชื้อพยาธิทางเดินอาหารในประเทศที่พัฒนาแล้ว การติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง (persistent infection), การเพิ่มขึ้นขอ...

เที่ยวหมู่บ้านแมวที่ไต้หวัน (Houtong cat village) เสี่ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ?

Image
    สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้นะคะ ช่วงนี้เห็นคนไทยไปเที่ยวไต้หวันเยอะมาก การันตีเลยว่าใน 1 โบกี้มีคนไทยไปแล้วครึ่งหนึ่ง หมอเองก็เพิ่งไปมาเมื่อต้นเดือนมิถุนายนเองค่ะ สิ่งที่น่าสนใจแม้จะได้ลงไปแค่ 15 นาทีแบบทัวร์นกขมิ้นในสายตาแพทย์ก็คือ หมู่บ้านแมวที่ชื่อว่า โหวตง ค่ะ     ประวัติศาสตร์เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ก็คือ เมื่อปี 1900 เป็นเหมืองเก่าที่มีผู้คนเข้ามาทำงานมาก มีคนงาน 6,000 คน จากนั้นช่วงปี 1990 ก็เริ่มยุติไป วัยรุ่นก็ออกจากเมืองไปหาโอกาสใหม่ที่เมืองอื่น ทำให้เหลือเพียง 100 คนในเมือง กลายเป็นเหมืองร้างให้น้องมะเหมียวได้มาอาศัยอยู่แทน จากข้อมูลปี 2019 กล่าวว่ามีแมว 286 ตัวที่ลงทะเบียนแล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นมา 50 ตัวจากปีที่แล้ว ยังอาจมีแมวมากกว่านี้หรืออาจจะเป็นแหล่งดึงดูดให้คนมาทิ้งแมวมากขึ้นด้วยก็ได้ เพราะมีอาสาสมัครช่วยดูแล อันนี้น่าเป็นห่วง 😱 ภาพด้านซ้ายเป็นภาพที่หมอไปเที่ยวมาเองค่ะ จะเห็นว่าน้องแมวจะหูแหว่งด้วยข้างหนึ่ง เป็นการบอกว่าทำหมัน ฉีดวัคซีนแล้ว และเพื่อเช็คน้องด้วยค่า     จากคำถามที่ตั้งไว้ 'แล้วเราจะติดเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ????' ...